สินค้ารวม : 0 บาท ไปที่ตะกร้าสินค้า
โปรโมชั่น : ยอด 650 บาท ฟรีค่าจัดส่ง (ยกเว้นกล่อง)
ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอะไร เรามักจะหยิบสิ่งต่างๆมาแมทช์กันให้ลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว การตกแต่งบ้าน หรือแม้แต่การหาใครสักคน มันต้องมีอะไรที่มันคลิกกัน แบบเข้ากันดีกับที่หัวใจบอกไว้ การเลือกจับคู่สิ่งต่างๆจึงจำเป็นให้เกิดการเข้ากัน หรือไปด้วยกันได้ทั้งคู่ ทั้งคู่สีที่เข้ากัน คู่ตรงข้าม หรือจะเป็นโทนเดียวกัน ก็ช่วยสนับสนุนให้ชิ้นงานเหล่านั้นออกมาดูดี และไปในทิศทางเดียวกันได้ การเลือกฟอนต์เองก็เช่นกัน
ในเรื่องของ Artwork การจับคู่ฟอนต์ให้ลงตัวก็ช่วยทำให้ชิ้นงานนั้นดูดี หรือสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ฟอนต์ยังสามารถนำมาใช้เป็น Logo ของสินค้าไ้ด้อีกด้วย ดังนั้นการจับคู่ฟอนต์ ระหว่าง Title กับ Subtitle จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก โดยควรเลือกให้จุดเด่นของคำมีเพียงจุดเด่นเดียว เพื่อการนำสายตา และไม่ทำให้ภายในชิ้นงานดูรกหรือเยอะจนเกินไป
จากที่ Dearcowboy เคยนำเสนอเรื่องราวของประเภทฟอนต์ไปแล้ว ว่าหลักๆ มีทั้งหมด 5 ประเภท โดยแบ่งออกเป็น Serif , Sans Serif , Handwriten , Script และ Display เราจึงหยิบไอเดียการจับคู่ฟอนต์ในประเภทต่างๆให้ดูกันว่า ฟอนต์ประเภทไหน ควรจับคู่กับฟอนต์ประเภทไหน เพื่อให้แมทช์กัน เหมือนหาคู่ที่ดีให้ฟอนต์นั่นเอง
Sans Serif เป็นฟอนต์ไม่มีเชิง มีเพียงความโค้ง มน หรือตรงตามตัวอักษร ค่านข้างไม่เป็นทางการ แต่ฟอนต์ประเภท มักถูกหยิบมาใช้ นิยามประมานว่า น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ เหมาะสำหรับอยู่ในบทความยาวๆ หรือเป็นประโยคก็ได้ทั้งนั้น เพราะสามารถได้อยู่บนชิ้นงานหรือพื้นหลังในทุกอารมณ์
Sans Serif x Serif : ไม่มีเชิงกับมีเชิง เนื่องจากฟอนต์ดูง่ายๆ สบายๆแล้ว ดังนั้น ตัว Sub สามารถสนับสนุนด้วยความเรียบหรูได้
Sans Serif x Sans Serif : ไม่มีเชิงกับไม่มีเชิง เพราะเหมือนกัน จึงไปด้วยกันได้ดี เหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากจะคิดอะไรมาก ก็จับฟอนต์ประเภทเดียวกันเข้าด้วยกันไปเลย แต่ควรแบ่งน้ำหนัก ความหนา เพื่อเพิ่มมิติให้กับชิ้นงาน
Sans Serif x Handwritten : ไม่มีเชิงกับลายมือ อีกคนนึงเป็นประเภทแบบนิ่งๆ เจอกับอีกคนที่มีความสนุก ก็จะช่วยเติมเต็มระหว่างกันและกัน คู่ฟอนต์สองคู่นี้ น่าจะนิยามประมาณนั้น แต่Sans Serif ที่หยิบมาแมทชืไม่ควรใช้ความหนาที่เยอะ เพราะมันจะยิ่งทำให้ดูเยอะขึ้นมาอีก เราควรปล่อยให้ Handwriten ได้ทำหน้าที่ดีกว่า
Serif เป็นฟอนต์ประเภทมีเชิง หรือฟอนต์แบบมีหัว มีขีดเล็กๆอยู่ตรงหัว ให้ความรู้สึกที่เรียบหรูอยู่ในตัว พร้อมกับเป็นฟอนต์เชิงทางการ ดังนั้นการจับคู่ให้กับฟอนต์ประเภทนี้ ควรจับคู่ด้วยฟอนต์ที่ช่วยเพิ่มความดูดี ที่คอยสนับสนุนกันได้
Serif x Sans Serif : มีเชิงกับไม่มีเชิง มักจะเข้ากันดี เพราะฟอนต์ประเภท Sans Serif จะช่วยหนุนตัวHead หลัก เหมาะสำหรับใช้ในคำอธิบาย หรือคำโปรย
Serif x Serif : มีเชิงกับมีเชิง ง่ายต่อการอ่าน เพราะเป็นฟอนต์ประเภทด้วยกัน แต่ควรเลือกความหนาของฟอนต์ให้แตกต่างกัน หรือเพิ่มเป็นตัวเอียงแทน
Serif x Handwritten : มีเชิงกับลายมือ ช่วยเพิ่มความสวยงามแต่เป็นอย่างดี ดึงดูดให้คนมองได้มากกว่า เพราะ Serif เป็นฟอนต์แบบให้อารมณ์นิ่งๆ เรียบๆ สุขุม ดังนั้นสามารถเพิ่มความสนุกได้กับฟอนต์ประเภท Handwriten แต่ฟอนต์ประเภทนี้หากจำกัดเวลาในการมองเห็น จะไม่สามารถอ่านออกได้ทัน จึงเหมาะกับคำสั้นๆ ที่ช่วยเสริมให้ฟอนต์ Serif ดูมีชีวิตชีวาขึ้น
Handwritten เป็นฟอนต์ประเภทลายมือ มีลูกเล่น และลักษณะเฉพาะ เหมือนลายมือเรา ก็จะแต่งต่างจากลายมือคนอื่น มักใช้กับงานที่เน้นความสวยงามให้กับภาพ หรือ Artwork เพราะฟอนต์ประเภทนี้มักใช้เวลาในการอ่าน เพื่อดูว่าเป็นคำว่าอะไร เหมาะกับการสร้างมู้ดให้กับชิ้นงาน
Handwritten x Sans Serif : ลายมือกับไม่มีเชิง เหมาะกับให้ Handwritten เป็นHead หลัก ในคำหรือรูปประโยคสั้นๆ แล้วใช้ฟอนต์แบบเรียบๆ อย่างSans Serif อธิบาย หรือย่อยความหมายในชิ้นงาน
Handwritten x Serif : ลายมือกับมีเชิง ลูกเล่นที่มีอยู่กลายเป็นตัวละครหลัก แล้วให้คำย่อย ทำหน้าที่เสริมเพื่อความเรียบหรูอย่าง Serif จัดการ การจับคุ่ฟอนต์ประเภทนี้เหมาะกับงานในด้าน Content ท่องเที่ยว ต่างๆ ให้อารมณ์ที่ต่างฝ่ายต่างช่วยปรับสมดุลซึ่งกันและกัน สร้างความสวยงามและให้อารมณ์ที่น่าอ่าน น่ามองมากยิ่งขึ้น
Script เป็นฟอนต์ประเภทปลายตวัด เน้นความหรูหราอย่างเด่นชัด เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ที่มีความชัดเชนในตัวเอง ฟอนต์ประเภทนี้จึงมักถูกใช้ในงานแฟชั่น แบรนด์เสื้อผ้าผู้หญิงต่างๆ และมีลักษณะเฉพาะตัวที่เด่นชัด เนื่องจากฟอนต์มีความเล่นใหญ่ การจับคู่จึงต้องจับคู่กับฟอนต์ที่มีความเรียบง่าย
Script x Sans Serif : ปลายตวัดกับไม่มีเชิง ลดการแย่งซีนของกันและกันด้วยการ หยิบฟอนต์ง่ายๆอย่าง Sans Serif มาจับคู่ด้วย ให้Script อยู่นิ่งๆ เฉยๆ ได้ซีนไปอย่างเดียว แล้ว Sans Serif คอยซับพอร์ต ให้ก็พอ เพื่อจุดนำสายตาที่มองที่ฟอนต์แบบปลายตวัด
Script x Serif : ปลายตวัดกับมีเชิง ให้อารมณ์เหมือนสาวฮอตไปเจอกับ หนุ่มหล่อมาดเนียบ เวลาออกงานหรือไปไหนมาไหนด้วยกัน จึงมักถูกเป็นที่จับตามอง เพราะทั้งคู่จะมีเอกลักษณ์ของแต่ละฝ่ายชัดเจน แต่เมื่ออยู่ด้วยกันต่างแสดงความพิเศษของกันและกันได้ แบบไม่แย่งซีน
Display เป็นฟอนต์แบบประดิษฐ์ มีลักษณะที่เฉพาะของแต่ละตัวอักษรเพื่อเพิ่มความแปลกตาให้กับผู้อ่าน แต่เหมาะที่จะใช้เป็น Head เท่านั้น ไม่เหมาะกับกับการนำมาใช้ในคำอธิบาย หรือข้อความที่มีเนื้อหาเยอะๆ เพราะจะทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง เมื่อฟอนต์ประเภทนี้ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวแล้ว ก็ควรจับคู่แมทช์กับฟอนต์ที่มีความเรียบง่าย ไม่แตกต่างกับฟอนต์ประเภท Script ถ้าเปรียบเป็นคน ฟอนต์ประเภทนี้ จะถูกเรียกว่า Artist
Display x Sans Serif : ประดิษฐ์กับไม่มีเชิง บางทีการสนับสนุนความเป็น Artist ที่ดี ก็คนง่ายๆ ธรรมดาๆ ที่เข้าใจคนประเภทนั้นนั้นแหละ การแมทช์ฟอนต์ของคู่นี้ก็เช่นกัน เค้าเยอะแล้ว ลูกเล่นก็มีมาก ไหนจะเอกลักษณ์เยอะ ปล่อยให้เค้า Stay Cool Still Cool แล้วเราที่เป็น Sans Serif คอยอธิบายในสิ่งที่ต้องการจะสื่อออกไป น่าจะเหมาะกว่านั่นเอง
Display x Serif : ประดิษฐ์กับมีเชิง เพิ่มความน่าเชื่อถือ สร้างความเรียบหรูให้กับลูกเล่นที่มี ด้วยฟอนต์ประเภท Serif จะช่วยให้ดูทางการ หรือยิ่งทำให้ดูไม่เหมือนใคร มีเพียงแค่เราเข้าไปได้อีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรเลือกรูปแบบของฟอนต์ประเภท Display ที่มีลูกเล่นไม่มาก แล้วให้ Serif ช่วยซับพอร์ทดีกว่า
จากสิ่งที่ Dearcowboy หยิบมาแมทช์ให้ คุณผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ในงานของตัวเองได้ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ทางการ หรือความสนุกต่อชิ้นงานเหล่านั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานตามความต้องการแต่ละประเภท หรืออยากมองหาความแมทช์เพิ่มเติมสามารถค้นหาคำว่า Font Combination เพื่อมองหาไอเดียอื่นๆ ได้อีกด้วย
© 2022, Dearly Commerce Co., Ltd. All Rights Reserved