สินค้ารวม : 0 บาท ไปที่ตะกร้าสินค้า

โปรโมชั่น : ยอด 650 บาท ฟรีค่าจัดส่ง (ยกเว้นกล่อง)

รวมสายพันธุ์ทั้งหมดของ "COVID-19" ที่ถูกตรวจพบบนโลกตอนนี้

Highlight
: เรามาดูกันว่า ณ ตอนนี้โลกของเราได้ตรวจพบไวรัสโคโรนาไปแล้วกี่สายพันธุ์?

      วันนี้ผมจะมาบอกกล่าวเล่าเรื่องในส่วนของสายพันธ์ุของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นบนโลกแต่ไม่ได้เจาะจงถึงเชิงลึกในกระบวนการของเชื้อไวรัส แต่เราก็ทำความรู้จักกันหน่อย Coronavirus หรือ ที่ทุกคนรู้จักกันดีตอนนี้ก็คือ โควิด ไวรัสตัวนี้กำเนิดขึ้นบนโลกเมื่อปี 2562 โดยจะเป็นเชื่อไวรัสที่เป็นตระกูลที่ร้ายแรง ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยตั้งแต่การเป็นหวัดธรรมดาไปจนถึงภาวะที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ว่าได โดยโรคนี้จะเป็นลักษณะของเชื้อหวัดที่สามารถกัดกินปอดของเราได้ ซึ่งในช่วงแรกของโรคนี้ยังเป็นเพียงสายพันธุ์ธรรมดา ที่ยังพอหาทางรักษาได้ แต่เนื่องด้วยมีการแพร่กระจายที่รวดเร็วเกินไป จึงไม่สามารถควบคุมเอาไว้ได้ในระยะแรก เพราะพึ่งเคยพบเจอ แต่ไวรัสตัวต้นกำเนิดจะมีประสิทธิภาพที่รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ในตอนนี้อย่างมาก เมื่อเทียบกับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว สายพันธุ์ที่กลายพันธ์แล้วไม่อาจยับยั้งขนาดที่สามารถลบมันออกไปได้แบบ 100% แต่เป็นเพียงการหยุดกระบวนการทำงานของไวรัสเพียงเท่านั้น งั้นเราลองมาดูสายพันธ์ุต่างๆที่มีการกลายพันธุ์ (New Mutant) ว่ามีสายพันธุ์ไหนบ้าง



สายพันธ์ุของเชื้อไวรัสโคโรนา

      ต้นกำเนิด : ข้อมูลแรกเริ่มที่เราทราบต้นตอของเจ้าไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีต้นกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในปี 2562 ที่มีการระบุถึงสิ่งที่อาจเป็นพาหะของการแพร่เชื้อนี้มาจากค้างคาว


      สายพันธุ์ สหราชอาณาจักร (UK) : การกลายพันธุ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในปลายปี 2563 ในประเทศ UK ซึ่งมีการเรียกตัวแปรของไวรัสนี้ว่า (ฺB.1.1.7) หรือที่เข้าใจได้ง่ายก็คือสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์ยุโรปที่เราเรียกกันในตอนนี้ เพราะมีการแพร่เชื้อที่ระบาดอย่างหนักในปัจจุบันที่ไทย เชื้อไวรัสนี้มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ง่ายและรวดเร็วกว่าสายพันธ์ุอื่นๆ ซึ่งผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงขั้นขีดอันตรายมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 30% เลยทีเดียว


      สายพันธุ์ แอฟริกาใต้ (South Africa) : การกลายพันธุ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในตอนต้นเดือนตุลาคมปี 2563 ในประเทศ แอฟริกาใต้ ซึ่งมีการเรียกตัวแปรของไวรัสนี้ว่า (ฺB.1.351) ซึ่งเป็นการตรวจพบเจอต่อจากสายพันธุ์ UK ที่มีการตรวจพบการกลายพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป และพบผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมกราคม 2564 ซึ่งได้ทำการค้นคว้าจนทราบและเป็นกังวลกันโดยส่วนใหญ่ เพราะวัคซีนและยาแอนติบอดี้ต่างๆ สามารถระงับการแพร่เชื้อได้น้อยกว่าสายพันธุ์ของ UK ไปจนถึงไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องใช้วัคซึนถึง 2 โดสขึ้นไปเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในระยะต่อไปนั้นเอง ปล. สายพันธุ์มาเลเซียก็เป็นสายพันธุ์ชนิดเดียวกันกับสายพันธุ์ แอฟริกาใต้


      สายพันธุ์ บราซิล (Brazil) : การกลายพันธุ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 2564 ในประเทศ บราซิล ซึ่งมีการเรียกตัวแปรของไวรัสนี้ว่า (P.1) หรือที่เรียกกันว่า สายพันธุ์บราซิล ซึ่งเป็นการตรวจพบต่อเจอครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากบราซิลในต้นเดือนมกราคม ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้คือการต้านทานวัคซีน วัคซีนจะใช้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ


      สายพันธุ์ นิวยอร์ก (New York) : ตอนช่วงปลายเดือนธันวาคมปี 2563 ถึง กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในประเทศ นิวยอร์ก ซึ่งมีการเรียกตัวแปรของไวรัสนี้ว่า (ฺB.1.526) ซึ่งสายพันธุ์นี้ได้กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์แอฟริกาใต้ (ฺB.1.351) ซึ่งใช้เวลาเพียงสองสัปดาห์ก็พบการแพร่เชื้อที่รวดเร็วมากถึง 12.7% และที่แน่นอนมันเริ่มที่จะแข็งกล้าขึ้นเรื่อยๆอีกเช่นเคย เพราะมันสามารถสั่งร่างกายให้ต้านยาวัคซีน แถมยังค้นพบการกลายพันธ์ุของเชื้อไวรัสโคโรนาอีกกว่า 59 สายพันธุ์ โดยทางทีมศึกษาของโคลัมเบีย ได้ระบุถึงเจ้าเชื้อไวรัสนี้ว่า "มันสามารถกลายพันธุ์ได้อย่างอิสระในทุกที่บนโลก" หรือก็คือ การวิวัฒนาการแบบไม่รู้จบ


      สายพันธุ์ แคลิฟอร์เนีย (California) : การตรวจพบครั้งนี้ มีการเรียกตัวแปรของไวรัสนี้คือ (ฺB.1.427 / B.1.429) ที่มีการตรวจพบการกลายพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไปจากสายพันธุ์ของ UK หนึ่งในเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ (L452R) ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ติดเชื้อที่มากขึ้นและรุนแรงขึ้นกว่าสายพันธุ์ของนิวยอร์ก ซึ่งความรุนแรงนี้จะมุ่งเน้นไปที่การทำลายปลอดได้มากขึ้นและเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนสูงขึ้นกว่าเดิม


      สายพันธุ์ อินเดีย (India) : การกลายพันธุ์ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการรวมร่างของสายพันธุ์ 2 ชนิดเข้าด้วยกันให้เป็นสายพันธุ์ของอินเดีย หรือที่เรียกว่า "Double Mutant" (B.1.617) ซึ่งมีการตรวจพบในตัวอย่างกว่า 13,000 ตัวอย่างพบว่า 3,500 ตัวอย่างรวมถึง (B.1.617) มีความน่ากังวลต่อการแพร่ระบาดที่รวดเร็วในแปดรัฐของอินเดีย เนื่องจากอินเดียไม่สามารถควบคุมการฉีดวัคซีนให้ได้อย่างทั่วถึง จนทำให้มีผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงอย่างมาก


ขอบคุณข้อมูลจาก :
biospace edition.cnn thermofisher bbc


• แจก : คูปองส่วนลด 7% CODE : MAY64 (นำไปสั่งซื้อบนเว็บไซต์)
• โปรโมชั่นพิเศษ : ไม่ว่าสั่งทางเว็บไซต์หรือสั่งทาง Chat ก็รับส่วนลด 7% 1 ครั้งทุกๆเดือน ทัก Line เรามาขอสิทธิ์ได้เลย
• ตารางรวมราคาสินค้า : (ดูตารางราคา) เราใช้ 🧡 บริการ :)
May 7, 2021, 5:42 p.m.
Share : Facebook Google

ซองไปรษณีย์พลาสติก กล่องพัสดุ ถุงแก้วพลาสติก และอุปกรณ์แพ็คกิ้งอื่นๆ ในราคาส่ง