สินค้ารวม : 0 บาท ไปที่ตะกร้าสินค้า
โปรโมชั่น : ยอด 650 บาท ฟรีค่าจัดส่ง (ยกเว้นกล่อง)
หากจะพูดถึงการหัก ณ ที่จ่าย คงเป็นหนึ่งในเรื่องชวนมึนของหลายๆคน เพราะมีรายละเอียดหลายอย่าง วันนี้ผมจะมาพูดถึงการหัก ณ ที่จ่าย ว่ามีหมวดหมู่ใดบ้าง และแต่ละหมวดหมู่หักกี่ % หากให้อธิบายหลักการง่ายๆ สำหรับการหัก ณ ที่จ่าย คือ คนจ่ายเป็นคนหัก และ คนที่หักต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่ จ่าย ให้กับคู่ค้าของเราด้วย และเราเก็บ 1 ฉบับไว้เป็นหลักฐานเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร
สำหรับการหัก ณ ที่จ่ายนั้นมีหลากหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งบทความในวันนี้ผมจะมาอธิบายสั้นๆ ให้ทุกท่านกันครับ ไปดูกันเลยครับว่าแต่ละประเภทจะมีอะไรกันบ้าง
ค่าขนส่งหัก 1 % : ประกอบไปด้วย (1) ขนส่งทางบก (2) ขนส่งทางเรือ (3) ขนส่งทางอากาศยาน
ค่าโฆษณาหัก 2% : เช่นลงเรา Banner โฆษณา หรือจำพวก Facebook Ads และ Google Ads
ค่าจ้างรับเหมา ทำของ หรือบริการต่างๆ หัก 3% : ค่าจ้างทุกอย่างที่เป็นบริการ เช่นทำรูป ถ่ายรูป รีวิวสินค้า ตกแต่งภายใน
ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ หัก 5% : เช่นเช่าโกดังประกอบกิจการ เช่า Office
ค่าอื่นๆที่หัก 5% : เช่น เช่ารถยนต์ ค่าจ้างนักแสดง ดารา นักร้อง อาชีพเพื่อการบันเทิง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่างๆ
อธิบาย : สำหรับการจ้างที่มียอดรวมกันทั้งปีไม่เกิน 1,000 บาท ทางกรมสรรพากรมีข้อกำหนดว่าไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย
FYI : ข้อมูลที่ Update นี้เป็นจากปี 2020 ล่าสุดที่กรมสรรพากรมีการ Update ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการ ทำข้อหารือภาษีอากร ของกรมสรรพากร ซึ่งอาจจะมีการลดเพิ่มหมวดหมู่ใหม่ๆเข้ามา ให้เราค่อยติดตามอยู่เรื่อยๆ
© 2022, Dearly Commerce Co., Ltd. All Rights Reserved