สินค้ารวม : 0 บาท ไปที่ตะกร้าสินค้า
โปรโมชั่น : ยอด 650 บาท ฟรีค่าจัดส่ง (ยกเว้นกล่อง)
หลายคนก็สงสัย และหลายคนอาจพอรู้มาบ้างกับเรื่องของการใช้งานแอพพลิเคชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกๆวันนี้ และในวันนี้เราจะพาทุกท่านมาพบกับประเภทของ Application ที่เราหลายๆคนเลือกดาวน์โหลดมาใช้งานแบบฟรีๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าแอพพลิเคชันเหล่านั้นจะได้รายได้จากส่วนไหนบ้าง โฆษณาเอย สมัครสมาชิกเอย ที่เราสามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป เราจะมาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆกัน
1. การโฆษณาภายในแอพ (In-App Advertising)
แอพพลิเคชันในข้อแรกนี้ จะเป็นแอพพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ฟรีไม่เสียตัง แต่จะหารายได้จากผู้ประกอบการธุรกิจรายใหญ่และรายย่อยที่ต้องการทำโฆษณาเพื่อบูสต์การเข้าถึงของลูกค้า ให้มาสนใจสินค้าหรือบริการของเพจธุรกิจนั้นๆ รวมถึงการไลฟ์สด สตรีมมิ่ง ที่สามารถกดหารายได้โดยโฆษณาจะคั่นระหว่างการถ่ายทอดสด หรือ การดูย้อนหลัง เช่น Facebook และ Facebook Gaming
2. แอพแบบสองทางเลือก (Freemium)
ชื่อก็บอกเอาไว้แล้วว่ามีสองทางเลือก มันคือการรวมกันของ แอพพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ฟรี (Free) แต่อาจจะต้องมีโฆษณามาคั่นระหว่างความสนุก หรือ หากคุณต้องการไม่ให้มีอะไรมารบกวนก็สามารถอัพ VIP (Premium) เพื่อให้ได้อรรถรสในการเล่น เสพความบันเทิงอย่างไม่รู้จบ เช่น Youtube(Premium), Joox(VIP)
3. แอพที่มีการสมัครสมาชิก (Subscription)
แอพพลิเคชันที่ฟรีแต่ไม่ฟรี ถึงแม้ว่าเราจะดาวน์โหลดมาใช้งานได้แบบฟรีๆ แต่ก็ต้องสมัครสมาชิกก่อนการใช้งานจริง บางแอพฯอาจมีให้ทดลองการใช้งานตั้งแต่ 1วัน จนถึง 1เดือน ตามความเหมาะสมของแต่ละแอพฯ เช่น NetFlix, Spotify และอื่นๆอีกมากมาย
4. แอพที่มีสปอนเซอร์ (Sponsorship)
แอพพลิเคชันในรูปแบบสุดท้ายนี้ ขึ้นชื่อว่าสปอนเซอร์คงไม่ใช่เกลือแร่อย่างแน่นอน มันก็ต้องเป็นผู้ร่วมสนับสนุนแอพพลิเคชันต่างๆ อาทิ แอพพลิเคชันของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือต่างๆ อย่าง AIS, DTAC, TRUE ที่จะมีโปรโมชั่นในการแลกแต้มแลกคะแนนในการจับจ่ายใช้สอยกันได้ในราคาที่ถูกลงนั้นเอง
© 2022, Dearly Commerce Co., Ltd. All Rights Reserved